วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

1. จัดทำโดย



จัดทำโดย

นายชัยฤทธิ์  ปริญญาวิทิต
นางสาวเบญญา    ส่งนุ่น
นางสาวสุภาพร   คนหาญ
นางสาววริศรา   ดอกแก้วดี
พระมหาอุโลม    อาทโร

2. พลเมืองโลกในกระแสโลกาภิวัตน์




 กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก


สังคมโลกกับการเปลี่ยนแปลง
                 ในสัปดาห์นี้จะได้กล่าวถึงเรื่อง ”กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก” ทั้งนี้โดยมีสาระครอบคลุมหัวข้อย่อย คือ สังคมโลกกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะได้ทำการแจกแจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.สังคมโลกในยุคแรก
               โลกก่อตัวเมื่อหลายล้านปีมาแล้ว หลังจากเย็นตัวลงจนเกิดสภาวะที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิต โลกได้กลายเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์และพืชนานาชนิด ก่อนที่สิ่งมีชีวิตลักษณะคล้ายมนุษย์ถือกำเนิดขึ้น และพัฒนาการมาจนเป็นมนุษย์ที่ครอบครองโลกดังเช่นที่เป็นอยู่
               จากการที่มนุษย์ถือกำเนิดมาและมีชีวิตอย่างเป็นอิสระตามลำพัง ในเวลาต่อมามนุษย์ได้รวมตัวกันเป็นกลกลุ่มก้อน จากจำนวนไม่กี่คนจนขยายตัวเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อประโยชน์ของความอยู่รอด และต่อมาวิวัฒนาการของมนุษย์ได้นำไปสู่สภาพสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม จนกลายเป็นสังคมโลกซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากกระแสโลกาภิวัตน์ ดังจะกล่าวในรายละเอียดต่อไปนี้

2.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคเร่ร่อน
                สังคมโลกได้พัฒนามาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยร่องรอยของมนุษย์ปรากฏในบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาและเอเชียกลาง
                ในช่วงเริ่มแรกของมนุษยชาติ มนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันเพื่อความอยู่รอด จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ แต่ปักหลักปักฐานแน่นอน เนื่องจากต้องตระเวนเดินทางไปตามแหล่งที่มีสัตว์ให้ล่า ส่วนใหญ่มนุษย์มักอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำและพืชซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพของสัตว์ การเดินทางของมนุษย์กลุ่มต่างๆยุคแรกกระจายไปทุกทิศทาง จนเข้าสู่ทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกา
ช่วงยุคนี้อาจถือว่าเป็นยุคเถื่อนซึ่งความแข็งแรงของร่างกาย คือ อำนาจ

3. สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลักปักฐานเป็นหลักแหล่ง
               จากกลุ่มชนเร่ร่อนดังกล่าว ในระยะเวลาต่อมา คือ ประมาณหนึ่งหมื่นปีก่อนปัจจุบัน มนุษย์ได้พัฒนาความสามารถในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลเพื่อการบริโภคและใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง จึงเริ่มตั้งชุมชนที่แน่นอนขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณใกล้แหล่งน้ำสำคัญต่างๆ เพื่อประกอบอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ส่วนการล่าสัตว์ซึ่งเป็นวิถีชีวิตเดิมมีความจำเป็นรองลงไป
                การที่มนุษย์สามารถลงหลักปักฐานมีแหล่งพำนักที่แน่นอน ผูกพันกับผืนดินซึ่งพวกเขาหว่านไถพรวนและปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและใช้งาน เปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องขึ้น และถือเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรม เป็นอารยธรรมซึ่งมีพื้นฐานจากเกษตรกรรม อารยธรรมนี้ส่งผลต่อรูปแบบการผลิต การจำหน่าย การดำเนินชีวิต วัฒนธรรม ครอบครัว การเมืองกาปกครอง และระบบสังคมซึ่งมีการแบ่งช่วงชั้นและแบ่งภารกิจหน้าที่ของกลุ่มคนต่างๆอย่างชัดเจน

4.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในแหล่งอารยธรรมต่างๆ
                ช่วงเวลาของการสร้างอารยธรรมในพื้นที่ต่างๆทั่วโลกมิได้เกิดพร้อมกัน และมิได้พัฒนาไปในอัตราเดียวกัน แต่ละพื้นที่และละกลุ่มชนมีระดับและรูปแบบของการพัฒนาแตกต่างกันไป
               การที่เกษตรกรรมสามารถตอบสนองความต้องการอาหารเลี้ยงชีวิตสำหรับผู้คนจำนวนมากได้โดยไม่ต้องพึ่งกำลังคนทั้งหมดของชุมชน ทำให้เกิดสังคมส่วนเกิน จึงมีการจัดสรรหน้าที่สำหรับชุชน ได้แก่ หน้าที่ในการป้องกัน การปกครอง งานฝีมือ และแรงงานต่างๆ ส่งผลให้โครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เข้มแข็ง เกิดอารยธรรมสำคัญตามแหล่งต่างๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอารยธรรมสุเมเรีย เมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์ลุ่มแน่น้ำไนล์  อารยธรรมลุ่มน้ำฮวงโหในจีน อารยธรรมสินธุในอินเดีย เป็นต้น
              อาจกล่าวได้ว่าพัฒนาการทางเกษตรกรรมเป็นกระแสคลื่นลูกที่หนึ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์อย่างสำคัญ

5.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรม
               อย่างไรก็ดี การก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรกรรมเป็นเพียงขั้นตอนของพัฒนาการในสังคมโลก ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ชุมชนเองขยายตัวมากขึ้น ความต้องการทางวัตถุในด้านต่างๆมีมากขึ้น ในขณะเดียวกันการเรียนรู้ของมนุษย์มิได้หยุดอยู่กับที่ มนุษย์ได้พัฒนาความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกระดับหนึ่งที่สำคัญ เรียกกันว่าปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้มนุษย์สามารถผลิตเครื่องมือ อุปกรณ์ ผลผลิตและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและสมาชิกในสังคมเป็นจำนวนมาก ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดความต้องการวัตถุดิบมาป้อนโรงงาน ขณะเดียวกันโรงงานสามารถผลิตสินค้าเกินความต้องการในประเทศ จึงต้องการหาตลาดนอกประเทศเพื่อระบายสินค้า สถานการณ์นี้นำไปสู่ความจำเป็นในการขยายขอบเขตอำนาจของประเทศอุตสาหกรรม พร้อมกับการขยายขอบเขตการค้า เกิดการแพร่กระจายวัฒนธรรมและการครอบงำทางการเองตามไปด้วย  จนประเทศมหาอำนาจในยุโรปกลายเป็นสังคมมั่งคั่ง

6.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคลัทธิพาณิชยนิยม(Mercantilism) และลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) 
               เมื่อสังคมอุตสาหกรรมพัฒนาอย่างรวดเร็ว ความต้องการวัตถุดิบเพื่อตอบสนองผู้บริโภคในประเทศนำไปสู่การแสวงหาทรัพยากรจากอาณาบริเวณอื่นนอกเหนือจากสังคมอุตสาหกรรมในยุโรป จนก่อให้เกิดลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) และลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism)  เพื่อแสวงหาและครอบครองอาณานิคมในบริเวณซึ่งชาวยุโรปเห็นว่าเป็นดินแดนเถื่อน หรือดินแดนของอนารยชน ในขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์ในช่วงเริ่มต้นก็แผ่เข้าไปจากความพยายามยัดเยียดลัทธิความเชื่อทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตและอารยธรรมแบบตะวันตกให้ผู้คนในประเทศที่อยู่ห่างไกลศูนย์ความเจริญอย่างยุโรปได้ถือปฏิบัติตาม
                การปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต การแลกเปลี่ยนสินค้า ระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่แตกต่างไปจากสังคมเกษตรกรรมเดิม โดยประชากรในชนบทได้หลั่งไหลเข้าไปหางานทำและประกอบอาชีพในเมืองมากขึ้น ทำให้เมืองชายตัว และพื้นที่เมืองก็เพิ่มขึ้นจนเกิดปัญหาใหม่ๆของสังคมอุตสาหกรรม เช่น ปัญหาแรงงาน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาความแออัด ฯลฯ
ในสังคมดังกล่าว ระบบทุนนิยมกลายเป็นเศรษฐกิจกระแสหลัก จนต่อมาเกิดกระแสตอบโต้โดยระบบสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศ

7.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคอุตสาหกรรม
               สังคมอุตสาหกรรมได้แบ่งผู้คนออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภค และฐานะของประชากรในสังคมถูกกำหนดโดยฐานะทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ในขณะที่บางสังคมยังยึดติดกับการผลิตทางเกษตรกรรม สังคมที่พัฒนาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมได้ก้าวเข้าสู่รูปแบบใหม่ของการดำรงชีวิตอย่างรวดเร็ว จนทำให้สภาพทางสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนเองแตกต่างจากสังคมเกษตรกรรมเดิมอย่างสิ้นเชิง
               สังคมอุตสาหกรรมไม่เหมือนสังคมเกษตรกรรมอีกต่อไป เพราะได้กลายเป็นสังคมวัตถุนิยม(Materialism) แบบบริโภคนิยม (Consumerism) ที่มีความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจและการทหาร ในระยะต่อมาประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้กลายเป็นสังคมที่พัฒนาแล้ว ซึ่งแตกต่างจากสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมที่ยังพึ่งการผลิตทางการเกษตร และปรับเปลี่ยนช้าจนกลายเป็นสังคมด้วยพัฒนา ส่วนสังคมเกษตรกรรมที่พยายามปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมได้รับการขนานนามว่าสังคมของประเทศกำลังพัฒนา แต่ต้องแลกด้วยการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมอันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นชัดเจนตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960

8.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคพัฒนาการของการคมนาคมขนส่ง
               พัฒนาการของการคมนาคมขนส่ง ส่วนหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการค้าขายระหว่างประเทศ ประกอบกับความต้องการแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างประเทศที่สูงขึ้น นำไปสู่การติดต่อเชื่อโยงระหว่างดินแดนต่างๆทั่วโลกมากว่าที่เคยเป็นไปในยุคสังคมเกษตรกรรม โดยในชั้นแรกผลของการพัฒนาความสามารถในการเดินทาง โดยเฉพาะทางทะเล ตามมาด้วยการขนส่งทางอากาศ ทำให้การติดต่อค้าขายระหว่างสังคมต่างๆเป็นไปอย่างใกล้ชิดมากขึ้นมีปริมาณการขนส่งมากขึ้น
              การติดต่อข้ามเขตพรมแดนของรัฐโดยประชากรชาติต่างๆก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 20 ต้องสะดุดลงหลายครั้งจากสงครามโลกสองครั้ง ตามด้วยสงครามเย็นและสิ้นสุดลงที่ความล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1992 สังคมโลกเริ่มปลอดภัยจากการเผชิญหน้าระหว่างสองอภิหาอำนาจ โลกซึ่งเคยถูกแบ่งออกเป็นสองขั้วตามลัทธิความเชื่อ(ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์) โดยประเทศต่างๆแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม (ส่วนกลุ่มเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดมีจำนวนน้อย) ได้สิ้นสุดลง

9.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลังสงครามเย็น
               หลังสงครามเย็น สังคมอุตสาหกรรมต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคม ซึ่งเปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคนในโลกอย่างกว้างขวาง รุนแรง และรวดเร็ว
               ในขณะที่สังคมอุตสาหกรรมดำเนินไป พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังก้าวรุดหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ประเด็นของการพัฒนาที่เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ซึ่งนำไปสู่รูปแบบใหม่ของการทำงานและการสื่อสารระหว่างมนุษย์ จนกล่าวขานกันว่าเป็นการปฏิรูปกระแสสำคัญที่เปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิต การทำงาน และการประกอบอาชีพแทบทุกด้านอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผลของการพัฒนาดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงทุกสังคมบนโลกไปอย่างกว้างขวาง โลกได้เปลี่ยนแปลงไป ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชุมชนและมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป สังคมโลกจะมีวันกลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว

10.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลังอุตสาหกรรม
                อันที่จริงก่อนสิ้นศตวรรษที่ 20 นักวิชาการได้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆรอบตัวและเริ่มกล่าวถึงสังคมยุคหลังอุตสาหกรรม (Post-industrial world) หรือสังคมหลังสภาวะทันสมัย (Post-modernization) มากขึ้นทุกที (ดูตัวอย่างจากหนังสือเรื่อง Post-Industrial Lives : Roles and Relationships in the 21th Century และหลายบทความเกี่ยวกับสังคมหลังสภาวะทันสมัยในหนังสือชื่อ The Cultural Reader) การวิเคราะห์ว่าสถานะความเป็นมนุษย์ บทบาทของมนุษย์ในสังคม และลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จะมีความสลับซับซ้อนกว่าที่เคยเป็นมาในสมัยสังคมอุตสาหกรรม
               นักคิดและนักวิชาการซึ่งสังเกตพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด ได้เสนอแนะแนวคิดคล้ายๆกันเกี่ยวกับทิศทางในอนาคต ดังตัวอย่างผลงานสามเล่มของแอลวิน ทอฟเลอร์ (Alvin Toffler) ได้แก่  เรื่อง Future Shock  (ค.ศ. 1978)  The Third Wave (ค.ศ.1980) และ Power Shift (ค.ศ.1990)
                ในหนังสือเล่มแรก ทอฟเล่อร์กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญในโลก และพาดพิงถึงพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคใหม่ แต่แนวคิดเรื่องโลกาภิวัตน์มาปรากฏชัดเจนขึ้นในหนังสือเล่มที่สอง (คลื่นลูกที่สาม) ซึ่งทอฟเลอร์ได้แบ่งพัฒนาการในสังคมโลกออกเป็นสามกระแส กระแสแรกคือสังคมเกษตรกรรม ซึ่งมีรูปแบบวิถีการดำรงชีวิตอันส่งผลต่อโครงสร้างระบบการเมืองเศรษฐกิจสังคมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อสังคมอุตสาหกรรมเข้าแทนที่ วิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ดังกล่าวก็เปลี่ยนไป จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พัฒนาการของเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ และระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ทำให้รูปแบบและโครงสร้างของระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จนไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไป ในแง่นี้ทอฟเลอร์เห็นว่าสังคมโลกยุคใหม่ได้เข้าสู่สังคมเทคโนโลยีข่าวสาร หรือที่หลายคนเรียกต่างๆกัน เช่น สังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมดิจิทัล เป็นต้น และในสังคมที่เปลี่ยนไปนี้ ฐานอำนาจเดิมในสังคมเดิมก็ถูกกระทบจนเกิดการเปลี่ยนแปลงฐานอำนาจไปจากเดิมอย่างรุนแรง ดังรายละเอียดที่สามารถอ่านได้จากหนังสือเรื่องการเปลี่ยนอำนาจ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มที่สามของทอฟเลอร์
สรุปความได้ว่า สังคมของมนุษย์หลังจากที่เกิดและพัฒนามาในโลกนี้แล้ว ก็ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงตามยุคต่างๆ ดังนี้ คือ 1)สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคเร่ร่อน,  2)สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลักปักฐานเป็นหลักแหล่ง,  3)โลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลักปักฐานเป็นหลักแหล่ง,  4)โลกเปลี่ยนแปลงในยุคการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรม,  5)โลกเปลี่ยนแปลงในยุคลัทธิพาณิชยนิยม และลัทธิจักรวรรดินิยม ,6)สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคอุตสาหกรรม,7) สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคพัฒนาการของการคมนาคมขนส่ง, 8)สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลังสงครามเย็น, และ 9)สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลังอุตสาหกรรม

.............................................................................

คำถามท้ายบทเรียน

1.) สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงในในยุคลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) และลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism)  อย่างไรบ้าง
2.) จงกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคหลังสงครามเย็น (Post-Cold War) และในยุคหลังอุตสาหกรรม  (Post-industrial world)
------------------------------------------------------

แหล่งที่มา :  SO ๒๑๓๘      พลเมืองโลกในกระแสโลกาภิวัตน์
โดย : พลเรือตรีรองศาสตราจารย์ทองใบ ธีรานันทางกูร

3. กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงโลก



ระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงโลก



                  ลักษณะของสังคมโลกปัจจุบัน และกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกสู่กรอบแกนกลาง
ในสัปดาห์นี้จะได้นำเสนอ ”กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก” โดยครอบคลุมสาระ 2 เรื่อง คือ ลักษณะของสังคมโลกปัจจุบัน และกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกเข้าสู่กรอบเกณฑ์กลาง ดังจะได้นำมาอธิบายตามลำดับดังนี้

1.ลักษณะของสังคมโลกปัจจุบัน 

                   ในหนังสือชื่อ Megatrends: Ten New Directions Transforming Our Lives(ค.ศ. 1984)  จอห์น แนสบิท  (John Naisbitt กล่าวถึงสังคมยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21มีลักษณะดังนี้

                              1) เป็นสังคมข่าวสาร   ในโลกปัจจุบันข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านสื่อต่างๆ จำนวนมากมายมหาศาล และกระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก ทำให้ประชากรโลกได้รับรู้ข้อมูลจากสังคมอื่นๆอย่างสะดวก จึงเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง เกิดสิ่งที่เรียกว่าทางหลวงข่าวสาร (Information Highway) โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานของการจัดการเครือข่ายสื่อสาร (Global information infrastructure ระดับโลก เครือข่ายดังกล่าวนี้หาได้ถูกกีดกั้นโดยอำนาจอธิปไตยของรัฐหรือขอบเขตพรมแดนแต่อย่างใด

                             2) มีการใช้เทคโนโลยีระดับสูง   เทคโนโลยีระดับสูงเป็นผลต่อเนื่องจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงหลังสังคมอุตสาหกรรม จนทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีหุ่นยนต์และกลศาสตร์ เทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีอวกาศ ฯลฯ ความรู้เหล่านี้ได้รับประยุกต์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกด้าน

                             3) เปลี่ยนแปลงวิธีคิดระยะสั้นเป็นการวางแผนระยะยาว   ในสังคมยุคใหม่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน ประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ ไม่สามารถอยู่รอดได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการทำงานแบบเดิมๆ หน่วยงานยุคใหม่ต้องมีการกำหนดเป้าหมายชัดเจน กำหนดวิสัยทัศน์ ขอบเขต พันธกิจ และยุทธศาสตร์ทั้งระยะยาวและระยะสั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานของตน รวมทั้งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ทุกขณะ

                                4) เกิดการกระจายอำนาจ   ในสังคมโลกยุคใหม่ อำนาจแท้จริงมิได้อยู่ที่การใช้กำลัง หรืออำนาจทางเศรษฐกิจตามลำพังอีกต่อไป แต่อำนาจแท้จริงอยู่ที่ความรู้ ดังที่กล่าวว่าสังคมปัจจุบันเป็นสังคมฐานความรู้ หรือระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ และการที่ความรู้ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้การรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางเพื่อประโยชน์ของการควบคุมเป็นไปได้ยาก การกระจายอำนาจจึงเป็นสภาวการณ์ที่เลี่ยงไม่พ้น

                              5) เน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น    ในขณะที่โลกยุคก่อน ประเทศมหาอำนาจ รัฐบาลกลาง หรือองค์การระหว่างประเทศ ทำหน้าที่พี่ใหญ่หรือผู้สั่งการ ในโลกยุคใหม่ชุมชนหรือหน่วยการเองย่อมต้องรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น ผลคือเกิดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและแต่ละประเทศ ในการดูแลตัวเองเป็นเบื้องต้น แทนที่จะคอยพึ่งพาการดูแลจากศูนย์อำนาจกลาง

                               6) เน้นระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม   ประชาธิปไตยยุคใหม่เริ่มเคลื่อนไปสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น แทนที่จะมอบอำนาจหน้าที่ให้ตัวแทนเพียงอย่างเดียว ประชาชนได้เข้ามามีบทบาทในกิจการสาธารณะทั้งอย่างเป็นทางการและเป็นทางการ ทั้งนี้เพราะการสื่อสารที่สะดวกได้ช่วยเปิดหูเปิดตาให้ประชาชนรับรู้เรื่องราวรอบตัวมากขึ้น จึงเรียกร้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นการร่วมดำเนินการ หรือการตัดสินใจสาธารณะมากกว่าที่เคยเป็น ในหลายประเทศการมีส่วนร่วมดังกล่าวมีลักษณะของการใช้มวลชนกดดันหรือเรียกร้องให้รัฐดำเนินการตามที่กลุ่มต้องการ จนเกิดการกระทบกระทั่งและความรุนแรง ซึ่งสะท้อนสภาวะการเสื่อมถอยของอำนาจรัฐ บ่อยครั้งการดำเนินการของกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากภายนอก หรือส่งผลให้เกิดการแทรกแซงจากภายนอกด้วย

                                7) เกิดการจัดการที่เน้นเครือข่าย  การทำงานในสังคมใหม่เน้นการแยกแยะหน้าที่เฉพาะส่วนและประสานกระบวนงานในลักษณะเครือข่าย ระบบงานแบบนี้เข้าแทนที่ระบบการทำงานครบวงจรของหน่วยงานแบบเดิม แต่ส่งเสริมให้แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการตามที่ตนเองถนัดที่สุด และมีการบูรณาการงานในภาพรวม เช่น กระบวนการประกอบรถยนต์อาศัยหลายหน่วยงานจากหลายประเทศเป็นผู้ดำเนินการ บางหน่วยงานผลิตชิ้นส่วน บางหน่วยงานประกอบ และหน่วยงานอื่นรับผิดชอบการขาย การซ่อมบำรุง เป็นต้น โดยแต่ละหน่วยเหล่านี้เป็นหน่วยงานเอกเทศ แต่ทำงานร่วมกันกับหน่วยงานอื่น

                                8) ประเทศกลุ่มใต้ได้รับความสำคัญมากขึ้น  ในโลกยุคใหม่ประเทศที่ไม่เคยได้รับความสนใจซึ่งมักถูกเรียกรวมๆว่าประเทศทางใต้ เช่น แอฟริกาและละติอเมริกา กลับกลายมาเป็นประเทศที่มีความสำคัญมากขึ้น เพราะหากประเทศเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนไม่ว่าด้วยภัยธรรมชาติหรือภัยที่เกิดจากมนุษย์ ประเทศอื่นก็ต้องได้รับความเดือดร้อนตามไปด้วย จึงทำให้ประเทศเหล่านี้ได้รับการเหลียวแลมากกว่าเดิม

                              9) เปิดช่องทางเลือกมากกว่าเดิม สังคมยุคใหม่เปิดทางเลือกต่างๆให้มากมาย อย่างน้อยพื้นที่ในการตัดสินใจ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในแต่ละประเทศอีกต่อไป แต่สามารถขยายไปยังพื้นที่อื่นๆบนผืนโลกได้ นอกจากนี้เทคโนโลยีได้ให้ทางเลือกในการดำเนินการมากกว่าที่เป็นอยู่มากมาย

                    ต่อมาแนชบิและแพทริเซีย แอเบอร์ดีน (ในหนังสือชื่อ Megatrends 2000 พิมพ์เผยแพร่ใน ค.ศ.1984) ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะอื่นๆอีกบางเรื่อง เช่น การกระเตื้องของเศรษฐกิจโลก การที่ผู้คนหวนไปสนใจงานศิลป์และฟื้นฟูศาสนา ระบอบสังคมยอมรับระบบตลาดเสรี เกิดวัฒนธรรมสากล สตรีมีบทบาทเพิ่มขึ้น ชีววิทยาได้รับความสนใจ เป็นต้น ซึ่งก็เกิดจากการสรุปจากการสังเกตของนักวิชาการ แต่ไม่สามารถนำไปอธิบายสำหรับแต่ละสังคมย่อยเสมอไปได้ ผู้สนใจอาจหาอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือดังกล่าว

2.กระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกเข้าสู่กรอบเกณฑ์กลาง

                     เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่มนุษย์มีความสนใจเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เมื่อใดก็ตามที่เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคมที่แตกต่างกันย่อมสนใจที่จะเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างกัน ในขณะเดียวกันสังคมที่คิดว่าตนเองเหนือกว่าสังคมอื่น ก็พยายามถ่ายทอดค่านิยม แบบแผนวิธีปฏิบัติ หรือองค์ความรู้อื่นให้กับคนในสังคมที่ด้อยกว่า
ตลอดช่วงความเป็นมาของสังคมโลก กลุ่มสังคมที่มีโอกาสรับรู้เรื่องราวของสังคมอื่น มีแนวโน้มที่จะเลียนแบบ หรือประยุกต์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมอื่นมาใช้ในสังคมของตน นอกจากนี้กระบวนการเรียนรู้อาจเกิดจากการผลักดันส่งเสริมของสังคมอื่นที่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมและค่านิยมของตนด้วย

                   คามความหมายกว้างกระบวนการเรียนรู้ รับมาปฏิบัติและถ่ายทอดค่านิยมหรือวิธีคิดวิธีปฏิบัติในสังคมโลกปัจจุบัน อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากระบวนการโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดภายหลัง
จากที่กล่าวข้างต้นย่อเห็นได้ว่าการรับรู้ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม รูปแบบ และกระบวนการทางการเอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกให้เป็นไปในทางเดียวกันนั้น เกิดขึ้นมาช้านานแล้ว โดยเริ่มต้นจากสังคมที่อยู่ใกล้ชิดติดกันและขยายต่อไปยังสังคมที่ห่างไกลออกไป

.                   ในสมัยที่การคมนาคมติดต่อในสังคมโลกยังเป็นไปอย่างจำกัด ชุมชนต่างๆย่อมดำรงชีวิตอยู่ตามลำพัง แยกห่าง และกระจัดกระจาย ในลักษณะต่างคนต่างอยู่ การคบหาสมาคนติดต่อส่วนใหญ่เกิดในภูมิภาคใกล้เคียงเท่านั้น แต่เมื่อคนจากบงประเทศหรือบางสังคมสามารถดินทางไกลออกไปจากดินแดนของตน จนมีโอกาสสัมพันธ์กับคนในชุมชนอื่น การเชื่อมโยงประสานระหว่างวัฒนธรรมและชุมชนต่างๆในพื้นที่ซึ่งเคยอยู่กระจัดกระจายก็เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น ส่งผลให้วัฒนธรรมที่เจริญกว่าพยายามยัดเยียดค่านิยมของตนให้วัฒนธรรมที่ด้อยกว่า ตัวอย่างเช่น ความพยายามเผยแผ่ศาสนาคริสต์จากประเทศยุโรปไปยังชุชนต่างๆพร้อมกับความพยายามแสวงหาอาณานิคมของประเทศหาอำนาจ อย่างเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส
  
                   โรเบิร์ตสัน (Globalization หน้า 58-59) แบ่งพัฒนาการของโลกอันนำไปสู่สภาวะโลกาภิวัตน์ออกเป็น 5ขั้นตอนอย่างหยาบๆโดยมองจากแง่มุมของกลุ่มประเทศในยุโรปเป็นหลัก ดังนี้

                   ขั้นตอนแรกเป็นขั้นก่อตัว (the germinal phase เริ่มในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางศตวรรษที่ 18โดยเริ่มมีการจัดตั้งรัฐชาติ ลดบทบาทของแว่นแคว้นศักดินา มีการขยายตัวของศาสนจักร ให้ความสำคัญแก่ความเป็นปัจเจกบุคคล และรับความคิดเรื่องมนุษยนิยม เริ่มยอมรับสภาวะของความเป็นโลกเดียวกัน มีการจัดทำแผนที่โลก ใช้ปฏิทินเกรกอเรียนแบบเดียวกัน เป็นต้น

                   ขั้นตอนที่สองเป็นขั้นตอนบ่มฟัก  (the incipient phase)  เริ่มจากกลางศตวรรษที่ 18 ไปจนถึงทศวรรษที่ 1870 เกิดการจัดตั้งรัฐชาติที่มีเอกภาพ มีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการที่ชัดเจน เกิดองค์การและหน่วยงานจำนวนมาก มีการกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ การสื่อสารระหว่างประเทศขยายตัว และเริ่มนำประเทศที่ไม่ใช่ยุโรปเข้าร่วมในสังคมระหว่างประเทศ

                 ขั้นตอนที่สามเป็นขั้นก้าวเดิน  (the takeoff phase) เริ่มจากกลางทศวรรษที่ 1920 ช่วงนี้มีการขยายแนวคิดความเป็นสากลมากขึ้น มีการกำหนดความหมายของสังคมระดับชาติหรือรัฐชาติที่ชัดเจน ให้ความสำคัญกับความเป็นตัวตนของบุคคลและรัฐชาติ ดึงประเทศนอกยุโรปเข้าไปร่วมในประชาคมโลก มีการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ชัดเจน พยายามสร้างแนวคิดเรื่องมนุษยชาติ การสื่อสารระหว่างประเทศขยายตัวกว้างขางขึ้นและรวดเร็วขึ้น มีการจัดกิจกรรมระหว่างประเทศ เช่น กีฬาโอลิมปิก รางวัลโนเบล กำหนดเส้นแบ่งเวลาโลก เกิดสงครามครั้งที่หนึ่งและสันนิบาตชาติ

                  ขั้นตอนที่สี่เป็นช่วงดิ้นรนเพื่อครองอำนาจในโลก (the struggle-for-hegemony phase) เริ่มจากต้นทศวรรษที่ 1920 ไปจนถึงทศวรรษที่ 1960 ช่วงนี้เป็นช่วงของความขัดแย้ง เนื่องจากมหาอำนาจบางประเทศต้องการเข้าครองอำนาจโลก ถึงแม้มีการกำหนดหลักการว่าด้วยความเป็นเอกราชของชาติแล้วก็ตาม ตึความขัดแงระหว่างกลุ่มพันธมิตรกับกลุ่มอักษะได้นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เกิดองค์การสหประชาชาติ เมื่อสิ้นสงครามมีประเทศเอกราชเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก ประเทศเหล่านี้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มโลกที่สาม

                   ขั้นตอนที่ห้าเป็นช่วงที่ขาดความแน่นอน (the uncertainty phase) เริ่มจากทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา โลกต้องประสบปัญหาความขัดแย้งบ่อยขึ้น ช่วงนี้มีประเทศโลกที่สามเข้ามาร่วมในประชาคมโลกตอนปลายทศวรรษที่ 1960 มากขึ้น ประเทศเหล่านี้ถูกดึงเข้ามาอยู่ในกระแสความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจเป็นเวลาหลายปีกว่าที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดลง ปรากฏการณ์ที่วางพื้นฐานสู่สภาวะสากล ได้แก่ การจัดตั้งและขยายตัวขององค์การและขบวนการโลกมากาย แต่ละสังคมเผชิญปัญหาการมีวัฒนธรรมและชนชาติหลากหลาย เกิดแนวคิดที่ให้ความสนใจเรื่องสิทธิพลเองและมนุษยนิยม สังคมประชา การเป็นพลเมืองโลก ความขัดแย้งระหว่างค่ายอำนาจสองขั้วสิ้นสุดลง ระบบสื่อสารมวลชนระดับโลกได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและครอบคลุม

                     สรุปความได้ว่า  ในส่วนที่เป็นลักษณะของสังคมโลกปัจจุบัน ลักษณะเป็นสังคมข่าวสาร  การใช้เทคโนโลยีระดับสูง, เปลี่ยนวิธีคิดจากระยะสั้นเป็นการวางแผนระยะยาว, เกิดการกระจายอำนาจ, เน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น, เน้นระบอบประชาธิปไตยแบบีส่วนร่วม, เกิดการจัดการที่เน้นเครือข่าย, ประเทศกลุ่มใต้ได้รับความสำคัญมากขึ้นและ เปิดช่องทางเลือกมากกว่าเดิม สำหรับ กระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกไปสู่กรอบเกณฑ์กลางนั้น  แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อตัว, ขั้นตอนบ่มฟัก, ขั้นตอนก้าวเดิน, ขั้นตอนดิ้นรนเพื่อครองอำนาจโลก และ ชั้นตอนที่ขาดความแน่นอน



.........................................................................
คำถามท้ายบทเรียน
1.จงบอกถึงลักษณะสังคมโลกปัจจุบันว่ามีอะไรบ้าง
2.จงบอกถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกเข้าสู่รอบเกณฑ์กลางตามทัศนะของโรเบิร์ตสัน

...................................................................................

หล่งที่มา :  SO ๒๑๓๘      พลเมืองโลกในกระแสโลกาภิวัตน์

โดย : พลเรือตรีรองศาสตราจารย์ทองใบ ธีรานันทางกูร



4. กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก




 กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

วิวัฒนาการโลกาภิวัตน์ และปัจจัยเร่งกระแสโลกาภิวัตน์

                   ในสัปดาห์นี้จะได้นำเสนอ “กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก”โดยมีสาระครอบ 2 หัวข้อ คือ วิวัฒนาการของโลกาภิวัตน์ และปัจจัยเร่งกระแสโลกาภิวัตน์ ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดของทั้ง2 หัวข้อตามลำดับดังนี้
ถึงแม้ว่าโลกาภิวัตน์ดูจะเป็นคำใหม่ที่นิยมใช้กันไม่นานนี้ แต่กระบวนการโลกาภิวัตน์ได้เกิดขึ้นมาเนิ่นนานแล้ว ดังจะได้นำมากล่าวโดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่างๆ ดังนี้

                           1.กระแสโลกาภิวัตน์ในสมัยโบราณ
                    หลายคนเข้าใจผิดว่ากระแสโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นเมื่อไม่สิบกี่สิบปีมานี้ แต่อันที่จริงกระแสโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นมาช้านาน เริ่มต้นจากการแผ่ขยายในระดับใกล้ เช่น ในภูมิภาคเดียวกันไปจนถึงสังคมที่ห่างไกลกัน นักวิชาการอย่าง Andre Gunder Frank เห็นว่าโลกาภิวัตน์เริ่มจากสมัยที่คนจากสุเมเรียทำการค้ากับคนในลุ่มแม่น้ำสินธุเมื่อปราณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นก็เกิดกรณีแผ่ขยายอารยธรรมกรีกเข้าสู่สังคมอื่นตั้งแต่สเปนไปจนถึงอินเดีย นอกจากนี้การค้าระหว่างจักรวรรดิโรมัน ปาร์เธีย และฮั่น นำไปสู่เส้นทางสายไหม ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากภาคตะวันตกของจีน ผ่านไปถึงเขตอาณาจักรปาร์เธีย ต่อไปจนถึงโรมัน มองโกลเข้ามาอิทธิพลในจีน เส้นทางสายไหมก็ยิ่งเป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมโลกตะวันออกกับตะวันตก

                           2.กระแสโลกาภิวัตน์ตามเส้นทางเดินเรือ
                    อีกเส้นทางหนึ่งที่ส่งเสริมการติดต่อค้าขายระหว่างสังคมต่างๆ คือ เส้นทางเดินเรือ ซึ่งปีหนึ่งๆเรือกรีกประมาณ 300 ลำแล่นผ่านระหว่างอาณาจักรกรีโรมันกับอินเดีย ประมาณกันว่าสินค้าที่ค้าขายระหว่างกันอาจอยู่ปราณ 300,3000 ตัน ตัวอย่างการเดินเรือครั้งสำคัญของนายพลเรือจีนจางเหอในกลางศตวรรษที่ 15 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลจากจีนมากมาย ถือเป็นการบุกเบิกเส้นทางซึ่งเชื่อมโยงดินแดนห่างไกลให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

                        3.กระแสโลกาภิวัตน์ในช่วงยุคทองของอิสลาม
                   ช่วงยุคทองของอิสลามเป็นอีกช่วงหนึ่งซึ่งกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลต่อการยอมรับวัฒนธรรมของประเทศคู่ค้า ทำนองเดียวกับเส้นทางการค้าเครื่องเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากแรงจูงใจแสวงหาวัตถุดิบในกระแสลัทธิพาณิชยนิยม ซึ่งตามมาด้วยลัทธิจักรวรรดินิยมและการยึดครองอาณานิคมเพื่อตักตวงผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจตะวันตก จากประเทศในดินแดนไกลโพ้นต่างๆระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 เริ่มจากประเทศหาอำนาจ อย่างเช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และอาณาจักรบริติช

                      4.กระแสโลกาภิวัตน์ในศตวรรษที่ 17
                  อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงศตวรรษที่ 17 กระแสโลกาภิวัตน์ได้รับการผลักดันจากภาคธุรกิจเอกชนโดยบริษัทจดทะเบียนต่างๆ เช่น British East India Company (ก่อตั้งใน ค.ศ. 1600) ถือว่าเป็นบรรษัทข้ามชาติแรก ตามมาด้วย Dutch East India Company ในอีกสองปีต่อมา

                   5.กระแสโลกาภิวัตน์ในยุคคนพบทวีปใหม่และดินแดนใหม่
                 การแผ่ขยายอำนาจและค่านิยมแบบตะวันตกเกิดขึ้นได้จากการค้นพบทวีปใหม่ และดินแดนใหม่ในภูมิภาคไกลโพ้นยุคของการสำรวจ (Ag of Discovery) และการค้นพบดินแดนใหม่ๆเป็นตัวเร่งกระแสโลกาภิวัตน์และทำให้ประเทศในยุโรป เอเชีย แอฟริกา กระชับความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆในโลกใหม่ เริ่มตอนปลายศตวรรษที่ 15 ซึ่งสองอาณาจักรในแหลไอบีเรีย คือ อาณาจักรโปรตุเกส และ คาสตีญ์ (Castil) ส่งกองเรือผ่านทวีปแอฟริกาตอนใต้ไปยังทวีปอเมริกา และมีการยึดครองหลายพื้นที่เป็นอาณานิคมของประเทศในยุโรป การยึดครองนี้เป็นไปอย่างสะดวกง่ายดายขึ้นเมื่อจักรวรรดิบริติสก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลก อันเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยี  เรือกลไฟ และเส้นทางรถไฟในศตวรรษที่ 19 หลังจากสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งและสอง และการยึดครองอินเดีย ประชากรจำนวนมหาศาลได้กลายเป็นผู้บริโภคสินค้าอุตสาหกรรมของจักรวรรดิบริติช ในช่วงเวลาเดียวกันดินแดนในแอฟริกาบริเวณใต้ทะเลทรายซาฮาราและหมู่เกาะแปซิฟิกต่างๆได้ถูกดึงเข้ามารับผลของกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์

                  6.กระแสลาภิวัตน์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 20
                      กระแสโลกาภิวัตน์ยุคใหม่เริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยมีความพยายามทำลายกำแพงการค้าจนเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศและเกิดสงครามโลกถึงสองครั้ง

                   ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ได้มีการประชุมระหว่างผู้แทนฝ่ายพันธมิตรจาก 44 ประเทศ จำนวน 730 คน ที่เมืองเบรตตัน วูดส์ (ค.ศ. 1944) ถือเป็นการร่วมวางโครงการสร้างการค้าและการเงินระหว่างประเทศที่สำคัญ กระแสโลกภิวัตน์ครั้งนี้ได้รับการกระตุ้นจากบรรษัทข้ามชาติซึ่งส่วนใหญ่มีที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ในช่วงนี้การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีมากขึ้น โดยต้นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่เจริญแล้วในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเช่นกัน ที่สำคัญคือการแพร่กระจายวันธรรมตะวันตกมีความเข้มข้นและส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นจากการที่สื่อมวลชนและเครื่องมือโทรคมนาคมรูปแบบต่างๆได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วให้ความสะดวกมากมายและมีราคาถูก

                               โดยสรุปแล้ว กระแสโลกาภิวัตน์เริ่มต้นจากการที่สังคมแต่ละสังคมอยู่แยกออกจากกันด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ แต่เอกชุมชนขยายตัวขึ้นอันเป็นผลจากการปฏิวัติทางเกษตรกรรมซึ่งก่อให้เกิดอารยธรรม ความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนและครอบงำจึงเกิดขึ้นตามมา เมื่อความต้องการวัตถุดิบและตลาดสินค้าเพิ่มขึ้นในยุคอุตสาหกรรม บรรดามหาอาจได้แผ่ขยายอำนาจของตนออกไป ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสังคมต่างๆใกล้ชิดมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการแลกเปลี่ยนความรู้ ภาษา ค่านิยม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ทั้งที่เป็นการบังคับครอบงำโดยชุมชนที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือโดยเต็มใจเนื่องจากพบว่าวัฒนธรรม รูปแบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ หรือเทคโนโลยีของสังคมอื่น มีผลดีต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพในสังคมของตน ตัวอย่างเช่น สังคมการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับวัฒนธรรมและรูปแบบการเมืองการปกครองจากสังคมที่พัฒนากว่าจากเอเชียใต้ (อินเดีย) และเอเชียตะวันออกไกล (จีน) ก่อนที่ประเทศยุโรปจะเข้ามามีบทบาท หรือมหาอำนาจอย่างโปรตุเกสและสเปนได้เผยแผ่วัฒนธรรมทางศาสนา ภาษาและการปกครองไปยังดินแดนที่ตนถือครองส่วนใหญ่ในละตินอเมริกา ปราณศตวรรษที่ 16-17

2.ปัจจัยเร่งกระแสโลกาภิวัตน์
ในภาพรวมปัจจัยที่เป็นตัวเร่งกระแสโลกาภิวัตน์ที่สำคัญในโลกปัจจุบัน ได้แก่

                           1) ความสะดวกด้านการเดินทาง การสื่อสาร และโทรคมนาคม ความสะดวกนี้เป็นปัจจัยส่งเสริมอัตราความรวดเร็วและการขยายตัวของการเผยแพร่ข่าวสาร ภาพ รายการบันเทิง การติดต่อ การประกอบธุรกรรม การลงทุน สินค้า และจำนวนประชากรที่เดินทางทั่วโลก นำไปสู่รูปแบบของชีวิตที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้น ซึ่งมนุษย์ในสังคมโลกแทบทุกพื้นที่ถือเป็นแบบอย่างสากล แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงและความเสี่ยงในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดของอาชญากรรม โรคภัยไข้เจ็บ ยาเสพติด การก่อการร้าย การบริโภคที่ไม่ถดถอย และการทำลายสภาวะแวดล้อมก็เกิดขึ้นในอัตราเร่งเช่นกัน

                      2) โครงสร้างและระบบที่เอื้อต่อความสัมพันธ์ข้ามชาติ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวางทั่วโลก ได้แก่  การจัดโครงสร้างระบบเครือข่าย และการกำหนดกฎระเบียบที่ขจัดอุปสรรคขัดขวางการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งการรวมตัวในภูมิภาคเพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน ส่งเหล่านี้ส่งผลให้การส่งต่อวัฒนธรรม วิถีปฏิบัติ และการแลกเปลี่ยนด้านต่างๆในลักษณะสากลเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ถือเป็นปัจจัยเร่งกระแสโลกาภิวัตน์อีกทางหนึ่ง

                        3) บทบาทของสื่อมวลชนทั่วโลก  เนื่องจากความต้องการข่าวสารและความสนใจใคร่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น สื่อสารมวลชนจึงมีบทบาทในการเกาะติดสถานการณ์และรายงานข่าว ซึ่งสามารถทำได้อย่างสะดวกง่ายดายโดยอานิสงส์จากโครงการเครือข่ายการสื่อสารข้ามโลก และอุปกรณ์การสื่อสารที่ช่วยให้การกระจายข่าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และน่าสนใจ ทำให้วิชาชีพสื่อสารมวลชนเป็นอาชีพสำคัญที่เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง และเกิดเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน จนทำให้ประชากรโลกโดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆทั่วโลก ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม หรือแบบแผนปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตามไปด้วย

                           4) บทบาทขององค์การเหนือชาติ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา องค์การข้ามชาติลักษณะต่างๆไม่ว่าจะเป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นตัวแทนของรัฐชาติหรือองค์การวิชาชีพ บรรษัทข้ามชาติ องค์การเอกชนระหว่างประเทศ องค์การการกุศล หรือรวมไปถึงขบวนการต่างๆ เช่น ขบวนการศาสนา ขบวนการก่อการร้าย ขบวนการยาเสพติด ฯลฯ บทบาทมากขึ้นในการดำเนินการเพื่อตอบสนองผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งของตน โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชากรหรือคนที่ไม่จำกัดเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในเขตรัฐชาติ องค์การเหล่านี้มีส่วนสำคัญทั้งในเชิงบวกหรือในเชิงลบที่ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมโลก

                   5) บทบาทของประเทศมหาอำนาจ ประเทศมหาอำนาจซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าเดิมและกลุ่มอำนาจใหม่ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ฯลฯ ผลประโยชน์สำคัญจากการส่งออกความช่วยเหลือ การลงทุน สินค้า บริการ และเทคโนโลยีไปยังประเทศอื่นๆประเทศเหล่านี้จึงเป็นแกนนำในการกำหนดรูปแบบวิธีการที่จะขจัดหรือลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ วางระเบียบเศรษฐกิจการค้าสากล และกำหนดเงื่อนไขการค้าหรือการแลกเปลี่ยนที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของตน กรอบกติกาเหล่านี้ได้กลายมาเป็นแบบแผนปฏิบัติสากลที่ทุกประเทศต้องถือปฏิบัติ นอกจากนี้ เนื่องจากประเทศมหาอำนาจยังมีความต้องการสินค้าและบริการบางอย่างจากประเทศอื่น จึงอาศัยอำนาจในการต่อรองของตนกำหนดเงื่อนไข และวางมาตรฐานสำหรับประเทศคู่ค้าต่างๆจนส่งผลให้เกิดการถือปฏิบัติตามแนวทางสากลมากขึ้น

.....................................................................................................
คำถามท้ายบทเรียน
1. จงอธิบายถึงวิวัฒนาการของโลกาภิวัตน์มาให้เป็นที่เข้าใจอย่างละเอียด
2. จงบอกถึงปัจจัยเร่งกระแสโลกาภิวัตน์ว่ามีอะไรบ้าง

.....................................................................


แหล่งที่มา :  SO ๒๑๓๘      พลเมืองโลกในกระแสโลกาภิวัตน์

โดย : พลเรือตรีรองศาสตราจารย์ทองใบ ธีรานันทางกูร

5. กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก




 กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก


*สังคมโลกกับการเปลี่ยนแปลง*

                 ในสัปดาห์นี้จะได้กล่าวถึงเรื่อง ”กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก” ทั้งนี้โดยมีสาระครอบคลุมหัวข้อย่อย คือ สังคมโลกกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะได้ทำการแจกแจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.สังคมโลกในยุคแรก
               โลกก่อตัวเมื่อหลายล้านปีมาแล้ว หลังจากเย็นตัวลงจนเกิดสภาวะที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิต โลกได้กลายเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์และพืชนานาชนิด ก่อนที่สิ่งมีชีวิตลักษณะคล้ายมนุษย์ถือกำเนิดขึ้น และพัฒนาการมาจนเป็นมนุษย์ที่ครอบครองโลกดังเช่นที่เป็นอยู่
               จากการที่มนุษย์ถือกำเนิดมาและมีชีวิตอย่างเป็นอิสระตามลำพัง ในเวลาต่อมามนุษย์ได้รวมตัวกันเป็นกลกลุ่มก้อน จากจำนวนไม่กี่คนจนขยายตัวเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อประโยชน์ของความอยู่รอด และต่อมาวิวัฒนาการของมนุษย์ได้นำไปสู่สภาพสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม จนกลายเป็นสังคมโลกซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากกระแสโลกาภิวัตน์ ดังจะกล่าวในรายละเอียดต่อไปนี้

2.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคเร่ร่อน
                สังคมโลกได้พัฒนามาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยร่องรอยของมนุษย์ปรากฏในบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาและเอเชียกลาง
                ในช่วงเริ่มแรกของมนุษยชาติ มนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันเพื่อความอยู่รอด จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ แต่ปักหลักปักฐานแน่นอน เนื่องจากต้องตระเวนเดินทางไปตามแหล่งที่มีสัตว์ให้ล่า ส่วนใหญ่มนุษย์มักอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำและพืชซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพของสัตว์ การเดินทางของมนุษย์กลุ่มต่างๆยุคแรกกระจายไปทุกทิศทาง จนเข้าสู่ทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกา
ช่วงยุคนี้อาจถือว่าเป็นยุคเถื่อนซึ่งความแข็งแรงของร่างกาย คือ อำนาจ

3. สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลักปักฐานเป็นหลักแหล่ง
               จากกลุ่มชนเร่ร่อนดังกล่าว ในระยะเวลาต่อมา คือ ประมาณหนึ่งหมื่นปีก่อนปัจจุบัน มนุษย์ได้พัฒนาความสามารถในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลเพื่อการบริโภคและใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง จึงเริ่มตั้งชุมชนที่แน่นอนขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณใกล้แหล่งน้ำสำคัญต่างๆ เพื่อประกอบอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ส่วนการล่าสัตว์ซึ่งเป็นวิถีชีวิตเดิมมีความจำเป็นรองลงไป
                การที่มนุษย์สามารถลงหลักปักฐานมีแหล่งพำนักที่แน่นอน ผูกพันกับผืนดินซึ่งพวกเขาหว่านไถพรวนและปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและใช้งาน เปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องขึ้น และถือเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรม เป็นอารยธรรมซึ่งมีพื้นฐานจากเกษตรกรรม อารยธรรมนี้ส่งผลต่อรูปแบบการผลิต การจำหน่าย การดำเนินชีวิต วัฒนธรรม ครอบครัว การเมืองกาปกครอง และระบบสังคมซึ่งมีการแบ่งช่วงชั้นและแบ่งภารกิจหน้าที่ของกลุ่มคนต่างๆอย่างชัดเจน

4.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในแหล่งอารยธรรมต่างๆ
                ช่วงเวลาของการสร้างอารยธรรมในพื้นที่ต่างๆทั่วโลกมิได้เกิดพร้อมกัน และมิได้พัฒนาไปในอัตราเดียวกัน แต่ละพื้นที่และละกลุ่มชนมีระดับและรูปแบบของการพัฒนาแตกต่างกันไป
               การที่เกษตรกรรมสามารถตอบสนองความต้องการอาหารเลี้ยงชีวิตสำหรับผู้คนจำนวนมากได้โดยไม่ต้องพึ่งกำลังคนทั้งหมดของชุมชน ทำให้เกิดสังคมส่วนเกิน จึงมีการจัดสรรหน้าที่สำหรับชุชน ได้แก่ หน้าที่ในการป้องกัน การปกครอง งานฝีมือ และแรงงานต่างๆ ส่งผลให้โครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เข้มแข็ง เกิดอารยธรรมสำคัญตามแหล่งต่างๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอารยธรรมสุเมเรีย เมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์ลุ่มแน่น้ำไนล์  อารยธรรมลุ่มน้ำฮวงโหในจีน อารยธรรมสินธุในอินเดีย เป็นต้น
              อาจกล่าวได้ว่าพัฒนาการทางเกษตรกรรมเป็นกระแสคลื่นลูกที่หนึ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์อย่างสำคัญ

5.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรม
               อย่างไรก็ดี การก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรกรรมเป็นเพียงขั้นตอนของพัฒนาการในสังคมโลก ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ชุมชนเองขยายตัวมากขึ้น ความต้องการทางวัตถุในด้านต่างๆมีมากขึ้น ในขณะเดียวกันการเรียนรู้ของมนุษย์มิได้หยุดอยู่กับที่ มนุษย์ได้พัฒนาความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกระดับหนึ่งที่สำคัญ เรียกกันว่าปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้มนุษย์สามารถผลิตเครื่องมือ อุปกรณ์ ผลผลิตและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและสมาชิกในสังคมเป็นจำนวนมาก ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดความต้องการวัตถุดิบมาป้อนโรงงาน ขณะเดียวกันโรงงานสามารถผลิตสินค้าเกินความต้องการในประเทศ จึงต้องการหาตลาดนอกประเทศเพื่อระบายสินค้า สถานการณ์นี้นำไปสู่ความจำเป็นในการขยายขอบเขตอำนาจของประเทศอุตสาหกรรม พร้อมกับการขยายขอบเขตการค้า เกิดการแพร่กระจายวัฒนธรรมและการครอบงำทางการเองตามไปด้วย  จนประเทศมหาอำนาจในยุโรปกลายเป็นสังคมมั่งคั่ง

6.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคลัทธิพาณิชยนิยม(Mercantilism) และลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) 
               เมื่อสังคมอุตสาหกรรมพัฒนาอย่างรวดเร็ว ความต้องการวัตถุดิบเพื่อตอบสนองผู้บริโภคในประเทศนำไปสู่การแสวงหาทรัพยากรจากอาณาบริเวณอื่นนอกเหนือจากสังคมอุตสาหกรรมในยุโรป จนก่อให้เกิดลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) และลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism)  เพื่อแสวงหาและครอบครองอาณานิคมในบริเวณซึ่งชาวยุโรปเห็นว่าเป็นดินแดนเถื่อน หรือดินแดนของอนารยชน ในขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์ในช่วงเริ่มต้นก็แผ่เข้าไปจากความพยายามยัดเยียดลัทธิความเชื่อทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตและอารยธรรมแบบตะวันตกให้ผู้คนในประเทศที่อยู่ห่างไกลศูนย์ความเจริญอย่างยุโรปได้ถือปฏิบัติตาม
                การปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต การแลกเปลี่ยนสินค้า ระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่แตกต่างไปจากสังคมเกษตรกรรมเดิม โดยประชากรในชนบทได้หลั่งไหลเข้าไปหางานทำและประกอบอาชีพในเมืองมากขึ้น ทำให้เมืองชายตัว และพื้นที่เมืองก็เพิ่มขึ้นจนเกิดปัญหาใหม่ๆของสังคมอุตสาหกรรม เช่น ปัญหาแรงงาน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาความแออัด ฯลฯ
ในสังคมดังกล่าว ระบบทุนนิยมกลายเป็นเศรษฐกิจกระแสหลัก จนต่อมาเกิดกระแสตอบโต้โดยระบบสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศ

7.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคอุตสาหกรรม
               สังคมอุตสาหกรรมได้แบ่งผู้คนออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภค และฐานะของประชากรในสังคมถูกกำหนดโดยฐานะทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ในขณะที่บางสังคมยังยึดติดกับการผลิตทางเกษตรกรรม สังคมที่พัฒนาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมได้ก้าวเข้าสู่รูปแบบใหม่ของการดำรงชีวิตอย่างรวดเร็ว จนทำให้สภาพทางสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนเองแตกต่างจากสังคมเกษตรกรรมเดิมอย่างสิ้นเชิง
               สังคมอุตสาหกรรมไม่เหมือนสังคมเกษตรกรรมอีกต่อไป เพราะได้กลายเป็นสังคมวัตถุนิยม(Materialism) แบบบริโภคนิยม (Consumerism) ที่มีความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจและการทหาร ในระยะต่อมาประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้กลายเป็นสังคมที่พัฒนาแล้ว ซึ่งแตกต่างจากสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมที่ยังพึ่งการผลิตทางการเกษตร และปรับเปลี่ยนช้าจนกลายเป็นสังคมด้วยพัฒนา ส่วนสังคมเกษตรกรรมที่พยายามปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมได้รับการขนานนามว่าสังคมของประเทศกำลังพัฒนา แต่ต้องแลกด้วยการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมอันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นชัดเจนตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960

8.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคพัฒนาการของการคมนาคมขนส่ง
               พัฒนาการของการคมนาคมขนส่ง ส่วนหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการค้าขายระหว่างประเทศ ประกอบกับความต้องการแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างประเทศที่สูงขึ้น นำไปสู่การติดต่อเชื่อโยงระหว่างดินแดนต่างๆทั่วโลกมากว่าที่เคยเป็นไปในยุคสังคมเกษตรกรรม โดยในชั้นแรกผลของการพัฒนาความสามารถในการเดินทาง โดยเฉพาะทางทะเล ตามมาด้วยการขนส่งทางอากาศ ทำให้การติดต่อค้าขายระหว่างสังคมต่างๆเป็นไปอย่างใกล้ชิดมากขึ้นมีปริมาณการขนส่งมากขึ้น
              การติดต่อข้ามเขตพรมแดนของรัฐโดยประชากรชาติต่างๆก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 20 ต้องสะดุดลงหลายครั้งจากสงครามโลกสองครั้ง ตามด้วยสงครามเย็นและสิ้นสุดลงที่ความล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1992 สังคมโลกเริ่มปลอดภัยจากการเผชิญหน้าระหว่างสองอภิหาอำนาจ โลกซึ่งเคยถูกแบ่งออกเป็นสองขั้วตามลัทธิความเชื่อ(ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์) โดยประเทศต่างๆแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม (ส่วนกลุ่มเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดมีจำนวนน้อย) ได้สิ้นสุดลง

9.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลังสงครามเย็น
               หลังสงครามเย็น สังคมอุตสาหกรรมต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคม ซึ่งเปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคนในโลกอย่างกว้างขวาง รุนแรง และรวดเร็ว
               ในขณะที่สังคมอุตสาหกรรมดำเนินไป พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังก้าวรุดหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ประเด็นของการพัฒนาที่เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ซึ่งนำไปสู่รูปแบบใหม่ของการทำงานและการสื่อสารระหว่างมนุษย์ จนกล่าวขานกันว่าเป็นการปฏิรูปกระแสสำคัญที่เปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิต การทำงาน และการประกอบอาชีพแทบทุกด้านอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผลของการพัฒนาดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงทุกสังคมบนโลกไปอย่างกว้างขวาง โลกได้เปลี่ยนแปลงไป ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชุมชนและมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป สังคมโลกจะมีวันกลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว

10.สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลังอุตสาหกรรม
                อันที่จริงก่อนสิ้นศตวรรษที่ 20 นักวิชาการได้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆรอบตัวและเริ่มกล่าวถึงสังคมยุคหลังอุตสาหกรรม (Post-industrial world) หรือสังคมหลังสภาวะทันสมัย (Post-modernization) มากขึ้นทุกที (ดูตัวอย่างจากหนังสือเรื่อง Post-Industrial Lives : Roles and Relationships in the 21th Century และหลายบทความเกี่ยวกับสังคมหลังสภาวะทันสมัยในหนังสือชื่อ The Cultural Reader) การวิเคราะห์ว่าสถานะความเป็นมนุษย์ บทบาทของมนุษย์ในสังคม และลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จะมีความสลับซับซ้อนกว่าที่เคยเป็นมาในสมัยสังคมอุตสาหกรรม
               นักคิดและนักวิชาการซึ่งสังเกตพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด ได้เสนอแนะแนวคิดคล้ายๆกันเกี่ยวกับทิศทางในอนาคต ดังตัวอย่างผลงานสามเล่มของแอลวิน ทอฟเลอร์ (Alvin Toffler) ได้แก่  เรื่อง Future Shock  (ค.ศ. 1978)  The Third Wave (ค.ศ.1980) และ Power Shift (ค.ศ.1990)
                ในหนังสือเล่มแรก ทอฟเล่อร์กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญในโลก และพาดพิงถึงพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคใหม่ แต่แนวคิดเรื่องโลกาภิวัตน์มาปรากฏชัดเจนขึ้นในหนังสือเล่มที่สอง (คลื่นลูกที่สาม) ซึ่งทอฟเลอร์ได้แบ่งพัฒนาการในสังคมโลกออกเป็นสามกระแส กระแสแรกคือสังคมเกษตรกรรม ซึ่งมีรูปแบบวิถีการดำรงชีวิตอันส่งผลต่อโครงสร้างระบบการเมืองเศรษฐกิจสังคมอย่างหนึ่ง แต่เมื่อสังคมอุตสาหกรรมเข้าแทนที่ วิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ดังกล่าวก็เปลี่ยนไป จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พัฒนาการของเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ และระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ทำให้รูปแบบและโครงสร้างของระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จนไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไป ในแง่นี้ทอฟเลอร์เห็นว่าสังคมโลกยุคใหม่ได้เข้าสู่สังคมเทคโนโลยีข่าวสาร หรือที่หลายคนเรียกต่างๆกัน เช่น สังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมดิจิทัล เป็นต้น และในสังคมที่เปลี่ยนไปนี้ ฐานอำนาจเดิมในสังคมเดิมก็ถูกกระทบจนเกิดการเปลี่ยนแปลงฐานอำนาจไปจากเดิมอย่างรุนแรง ดังรายละเอียดที่สามารถอ่านได้จากหนังสือเรื่องการเปลี่ยนอำนาจ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มที่สามของทอฟเลอร์
สรุปความได้ว่า สังคมของมนุษย์หลังจากที่เกิดและพัฒนามาในโลกนี้แล้ว ก็ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงตามยุคต่างๆ ดังนี้ คือ 1)สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคเร่ร่อน,  2)สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลักปักฐานเป็นหลักแหล่ง,  3)โลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลักปักฐานเป็นหลักแหล่ง,  4)โลกเปลี่ยนแปลงในยุคการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรม,  5)โลกเปลี่ยนแปลงในยุคลัทธิพาณิชยนิยม และลัทธิจักรวรรดินิยม ,6)สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคอุตสาหกรรม,7) สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคพัฒนาการของการคมนาคมขนส่ง, 8)สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลังสงครามเย็น, และ 9)สังคมโลกเปลี่ยนแปลงในยุคหลังอุตสาหกรรม

.............................................................................

คำถามท้ายบทเรียน

1.) สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงในในยุคลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) และลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism)  อย่างไรบ้าง
2.) จงกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคหลังสงครามเย็น (Post-Cold War) และในยุคหลังอุตสาหกรรม  (Post-industrial world)
------------------------------------------------------

แหล่งที่มา :  SO ๒๑๓๘      พลเมืองโลกในกระแสโลกาภิวัตน์
โดย : พลเรือตรีรองศาสตราจารย์ทองใบ ธีรานันทางกูร