กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
วิวัฒนาการโลกาภิวัตน์
และปัจจัยเร่งกระแสโลกาภิวัตน์
ในสัปดาห์นี้จะได้นำเสนอ
“กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก”โดยมีสาระครอบ 2 หัวข้อ คือ
วิวัฒนาการของโลกาภิวัตน์ และปัจจัยเร่งกระแสโลกาภิวัตน์
ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดของทั้ง2 หัวข้อตามลำดับดังนี้
ถึงแม้ว่าโลกาภิวัตน์ดูจะเป็นคำใหม่ที่นิยมใช้กันไม่นานนี้
แต่กระบวนการโลกาภิวัตน์ได้เกิดขึ้นมาเนิ่นนานแล้ว
ดังจะได้นำมากล่าวโดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่างๆ ดังนี้
1.กระแสโลกาภิวัตน์ในสมัยโบราณ
หลายคนเข้าใจผิดว่ากระแสโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นเมื่อไม่สิบกี่สิบปีมานี้
แต่อันที่จริงกระแสโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นมาช้านาน เริ่มต้นจากการแผ่ขยายในระดับใกล้
เช่น ในภูมิภาคเดียวกันไปจนถึงสังคมที่ห่างไกลกัน นักวิชาการอย่าง Andre Gunder
Frank เห็นว่าโลกาภิวัตน์เริ่มจากสมัยที่คนจากสุเมเรียทำการค้ากับคนในลุ่มแม่น้ำสินธุเมื่อปราณ
3,000 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นก็เกิดกรณีแผ่ขยายอารยธรรมกรีกเข้าสู่สังคมอื่นตั้งแต่สเปนไปจนถึงอินเดีย
นอกจากนี้การค้าระหว่างจักรวรรดิโรมัน ปาร์เธีย และฮั่น นำไปสู่เส้นทางสายไหม
ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากภาคตะวันตกของจีน ผ่านไปถึงเขตอาณาจักรปาร์เธีย ต่อไปจนถึงโรมัน
มองโกลเข้ามาอิทธิพลในจีน
เส้นทางสายไหมก็ยิ่งเป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมโลกตะวันออกกับตะวันตก
2.กระแสโลกาภิวัตน์ตามเส้นทางเดินเรือ
อีกเส้นทางหนึ่งที่ส่งเสริมการติดต่อค้าขายระหว่างสังคมต่างๆ
คือ เส้นทางเดินเรือ ซึ่งปีหนึ่งๆเรือกรีกประมาณ 300 ลำแล่นผ่านระหว่างอาณาจักรกรีโรมันกับอินเดีย
ประมาณกันว่าสินค้าที่ค้าขายระหว่างกันอาจอยู่ปราณ 300,3000 ตัน
ตัวอย่างการเดินเรือครั้งสำคัญของนายพลเรือจีนจางเหอในกลางศตวรรษที่ 15
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลจากจีนมากมาย
ถือเป็นการบุกเบิกเส้นทางซึ่งเชื่อมโยงดินแดนห่างไกลให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น
3.กระแสโลกาภิวัตน์ในช่วงยุคทองของอิสลาม
ช่วงยุคทองของอิสลามเป็นอีกช่วงหนึ่งซึ่งกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลต่อการยอมรับวัฒนธรรมของประเทศคู่ค้า
ทำนองเดียวกับเส้นทางการค้าเครื่องเทศ
ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากแรงจูงใจแสวงหาวัตถุดิบในกระแสลัทธิพาณิชยนิยม
ซึ่งตามมาด้วยลัทธิจักรวรรดินิยมและการยึดครองอาณานิคมเพื่อตักตวงผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจตะวันตก
จากประเทศในดินแดนไกลโพ้นต่างๆระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 เริ่มจากประเทศหาอำนาจ
อย่างเช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และอาณาจักรบริติช
4.กระแสโลกาภิวัตน์ในศตวรรษที่ 17
อาจกล่าวได้ว่า
ในช่วงศตวรรษที่ 17 กระแสโลกาภิวัตน์ได้รับการผลักดันจากภาคธุรกิจเอกชนโดยบริษัทจดทะเบียนต่างๆ
เช่น British
East India Company (ก่อตั้งใน ค.ศ. 1600)
ถือว่าเป็นบรรษัทข้ามชาติแรก ตามมาด้วย Dutch East India Company ในอีกสองปีต่อมา
5.กระแสโลกาภิวัตน์ในยุคคนพบทวีปใหม่และดินแดนใหม่
การแผ่ขยายอำนาจและค่านิยมแบบตะวันตกเกิดขึ้นได้จากการค้นพบทวีปใหม่
และดินแดนใหม่ในภูมิภาคไกลโพ้นยุคของการสำรวจ
(Ag
of Discovery) และการค้นพบดินแดนใหม่ๆเป็นตัวเร่งกระแสโลกาภิวัตน์และทำให้ประเทศในยุโรป
เอเชีย แอฟริกา กระชับความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆในโลกใหม่ เริ่มตอนปลายศตวรรษที่
15 ซึ่งสองอาณาจักรในแหลไอบีเรีย คือ อาณาจักรโปรตุเกส และ คาสตีญ์ (Castil) ส่งกองเรือผ่านทวีปแอฟริกาตอนใต้ไปยังทวีปอเมริกา
และมีการยึดครองหลายพื้นที่เป็นอาณานิคมของประเทศในยุโรป การยึดครองนี้เป็นไปอย่างสะดวกง่ายดายขึ้นเมื่อจักรวรรดิบริติสก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลก
อันเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยี เรือกลไฟ
และเส้นทางรถไฟในศตวรรษที่ 19 หลังจากสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งและสอง
และการยึดครองอินเดีย ประชากรจำนวนมหาศาลได้กลายเป็นผู้บริโภคสินค้าอุตสาหกรรมของจักรวรรดิบริติช
ในช่วงเวลาเดียวกันดินแดนในแอฟริกาบริเวณใต้ทะเลทรายซาฮาราและหมู่เกาะแปซิฟิกต่างๆได้ถูกดึงเข้ามารับผลของกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
6.กระแสลาภิวัตน์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 20
กระแสโลกาภิวัตน์ยุคใหม่เริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่
20 โดยมีความพยายามทำลายกำแพงการค้าจนเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศและเกิดสงครามโลกถึงสองครั้ง
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง
ได้มีการประชุมระหว่างผู้แทนฝ่ายพันธมิตรจาก 44 ประเทศ จำนวน 730 คน
ที่เมืองเบรตตัน วูดส์ (ค.ศ. 1944)
ถือเป็นการร่วมวางโครงการสร้างการค้าและการเงินระหว่างประเทศที่สำคัญ
กระแสโลกภิวัตน์ครั้งนี้ได้รับการกระตุ้นจากบรรษัทข้ามชาติซึ่งส่วนใหญ่มีที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ในช่วงนี้การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีมากขึ้น โดยต้นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่เจริญแล้วในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเช่นกัน
ที่สำคัญคือการแพร่กระจายวันธรรมตะวันตกมีความเข้มข้นและส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นจากการที่สื่อมวลชนและเครื่องมือโทรคมนาคมรูปแบบต่างๆได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วให้ความสะดวกมากมายและมีราคาถูก
โดยสรุปแล้ว
กระแสโลกาภิวัตน์เริ่มต้นจากการที่สังคมแต่ละสังคมอยู่แยกออกจากกันด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์
แต่เอกชุมชนขยายตัวขึ้นอันเป็นผลจากการปฏิวัติทางเกษตรกรรมซึ่งก่อให้เกิดอารยธรรม
ความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนและครอบงำจึงเกิดขึ้นตามมา
เมื่อความต้องการวัตถุดิบและตลาดสินค้าเพิ่มขึ้นในยุคอุตสาหกรรม
บรรดามหาอาจได้แผ่ขยายอำนาจของตนออกไป ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสังคมต่างๆใกล้ชิดมากขึ้น
สิ่งที่ตามมาคือการแลกเปลี่ยนความรู้ ภาษา ค่านิยม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต
ทั้งที่เป็นการบังคับครอบงำโดยชุมชนที่มีอำนาจเหนือกว่า
หรือโดยเต็มใจเนื่องจากพบว่าวัฒนธรรม รูปแบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ
หรือเทคโนโลยีของสังคมอื่น มีผลดีต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพในสังคมของตน
ตัวอย่างเช่น
สังคมการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับวัฒนธรรมและรูปแบบการเมืองการปกครองจากสังคมที่พัฒนากว่าจากเอเชียใต้
(อินเดีย) และเอเชียตะวันออกไกล (จีน) ก่อนที่ประเทศยุโรปจะเข้ามามีบทบาท หรือมหาอำนาจอย่างโปรตุเกสและสเปนได้เผยแผ่วัฒนธรรมทางศาสนา
ภาษาและการปกครองไปยังดินแดนที่ตนถือครองส่วนใหญ่ในละตินอเมริกา ปราณศตวรรษที่
16-17
2.ปัจจัยเร่งกระแสโลกาภิวัตน์
ในภาพรวมปัจจัยที่เป็นตัวเร่งกระแสโลกาภิวัตน์ที่สำคัญในโลกปัจจุบัน
ได้แก่
1)
ความสะดวกด้านการเดินทาง การสื่อสาร และโทรคมนาคม
ความสะดวกนี้เป็นปัจจัยส่งเสริมอัตราความรวดเร็วและการขยายตัวของการเผยแพร่ข่าวสาร
ภาพ รายการบันเทิง การติดต่อ การประกอบธุรกรรม การลงทุน สินค้า
และจำนวนประชากรที่เดินทางทั่วโลก นำไปสู่รูปแบบของชีวิตที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้น
ซึ่งมนุษย์ในสังคมโลกแทบทุกพื้นที่ถือเป็นแบบอย่างสากล
แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงและความเสี่ยงในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมาก
ดังจะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดของอาชญากรรม โรคภัยไข้เจ็บ ยาเสพติด การก่อการร้าย
การบริโภคที่ไม่ถดถอย และการทำลายสภาวะแวดล้อมก็เกิดขึ้นในอัตราเร่งเช่นกัน
2)
โครงสร้างและระบบที่เอื้อต่อความสัมพันธ์ข้ามชาติ
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวางทั่วโลก ได้แก่ การจัดโครงสร้างระบบเครือข่าย
และการกำหนดกฎระเบียบที่ขจัดอุปสรรคขัดขวางการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รวมทั้งการรวมตัวในภูมิภาคเพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน
ส่งเหล่านี้ส่งผลให้การส่งต่อวัฒนธรรม วิถีปฏิบัติ
และการแลกเปลี่ยนด้านต่างๆในลักษณะสากลเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย
ถือเป็นปัจจัยเร่งกระแสโลกาภิวัตน์อีกทางหนึ่ง
3)
บทบาทของสื่อมวลชนทั่วโลก
เนื่องจากความต้องการข่าวสารและความสนใจใคร่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น
สื่อสารมวลชนจึงมีบทบาทในการเกาะติดสถานการณ์และรายงานข่าว
ซึ่งสามารถทำได้อย่างสะดวกง่ายดายโดยอานิสงส์จากโครงการเครือข่ายการสื่อสารข้ามโลก
และอุปกรณ์การสื่อสารที่ช่วยให้การกระจายข่าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์
และน่าสนใจ ทำให้วิชาชีพสื่อสารมวลชนเป็นอาชีพสำคัญที่เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง
และเกิดเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน
จนทำให้ประชากรโลกโดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆทั่วโลก
ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม
หรือแบบแผนปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตามไปด้วย
4) บทบาทขององค์การเหนือชาติ
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา
องค์การข้ามชาติลักษณะต่างๆไม่ว่าจะเป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นตัวแทนของรัฐชาติหรือองค์การวิชาชีพ
บรรษัทข้ามชาติ องค์การเอกชนระหว่างประเทศ องค์การการกุศล
หรือรวมไปถึงขบวนการต่างๆ เช่น ขบวนการศาสนา ขบวนการก่อการร้าย ขบวนการยาเสพติด
ฯลฯ บทบาทมากขึ้นในการดำเนินการเพื่อตอบสนองผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งของตน
โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
ประชากรหรือคนที่ไม่จำกัดเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในเขตรัฐชาติ
องค์การเหล่านี้มีส่วนสำคัญทั้งในเชิงบวกหรือในเชิงลบที่ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมโลก
5)
บทบาทของประเทศมหาอำนาจ
ประเทศมหาอำนาจซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าเดิมและกลุ่มอำนาจใหม่
เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ฯลฯ ผลประโยชน์สำคัญจากการส่งออกความช่วยเหลือ การลงทุน
สินค้า บริการ
และเทคโนโลยีไปยังประเทศอื่นๆประเทศเหล่านี้จึงเป็นแกนนำในการกำหนดรูปแบบวิธีการที่จะขจัดหรือลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ
วางระเบียบเศรษฐกิจการค้าสากล
และกำหนดเงื่อนไขการค้าหรือการแลกเปลี่ยนที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของตน
กรอบกติกาเหล่านี้ได้กลายมาเป็นแบบแผนปฏิบัติสากลที่ทุกประเทศต้องถือปฏิบัติ
นอกจากนี้ เนื่องจากประเทศมหาอำนาจยังมีความต้องการสินค้าและบริการบางอย่างจากประเทศอื่น
จึงอาศัยอำนาจในการต่อรองของตนกำหนดเงื่อนไข
และวางมาตรฐานสำหรับประเทศคู่ค้าต่างๆจนส่งผลให้เกิดการถือปฏิบัติตามแนวทางสากลมากขึ้น
.....................................................................................................
คำถามท้ายบทเรียน
1.
จงอธิบายถึงวิวัฒนาการของโลกาภิวัตน์มาให้เป็นที่เข้าใจอย่างละเอียด
2.
จงบอกถึงปัจจัยเร่งกระแสโลกาภิวัตน์ว่ามีอะไรบ้าง
.....................................................................
แหล่งที่มา
: SO ๒๑๓๘ พลเมืองโลกในกระแสโลกาภิวัตน์
โดย
: พลเรือตรีรองศาสตราจารย์ทองใบ ธีรานันทางกูร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น