วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

11. การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21

ความสัมพันธ์และผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อสังคมโลกและมนุษย์



-การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21

                       มีการตั้งคำถามกันว่าสังคมโลกยุคใหม่จะถูกกระแสโลกาภิวัฒน์กลืนเข้าสู่วัฒนธรรมสากลหรือวัฒนธรรมโลกหรือไม่วัฒนธรรมประจำชาติหรือวัฒนธรรมท้องถิ่นจะถูกลบล้างไปจนหมดหรือไม่และวัฒนธรรมใดจะเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมพื้นจนกลายเป็นวัฒนธรรมโลก
                      ข้อสมมติฐานว่าวัฒนธรรมของบางประเทศจะเข้าแทนที่วัฒนธรรมอื่นและกลายกลืนจนกลายเป็นวัฒนธรรมโลกนั้นไม่น่าเป็นไปได้สภาวะที่น่าจะเกิดขึ้นคือ

                     1) วัฒนธรรมของบางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกซึ่งมีระบบการสื่อสารและเครือข่ายการสื่อสารข้าวคลุมไปทั่วโลกยอมเป็นที่รับรู้และเลือกรับปฏิบัติโดยคนในสังคมที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมแบบใหม่มากกว่าสังคมที่มิใช่ผู้นำด้านการคมนาคมสื่อสาร

                     2) การซึมซับวัฒนธรรมสากลเป็นเรื่องของการเลือกเฉพาะเรื่อง โดยขณะเดียวกันก็มีการประยุกต์ดัดแปลงให้สอดคล้องหรือผสมผสานกับวัฒนธรรมของแต่ละสังคมด้วย

                    3) ระดับการเลือกและซึมซับวัฒนธรรมของแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป ขึ้นกับความเข้มแข็งของวัฒนธรรมเดิมโอกาสการรับรู้และเห็นตัวอย่างจากวัฒนธรรมอื่นและบริบทจำกัดของแต่ละสังคม
วัฒนธรรมสากลที่น่าจะเป็นกระแสการเปลี่ยนแปลงหลักน่าจะอยู่ที่วัฒนธรรมการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพการงานของมนุษย์ในสังคมโลก

                         สภาพแวดล้อมในสังคมโลกยุคใหม่โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมทางวัตถุและเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญที่สุดต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตซึ่งขึ้นกับรายได้และความสามารถในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวสภาพแวดล้อมดังกล่าวสรุปได้ดังนี้

                         1) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเสริมการทำงานและขณะเดียวกันก็ลดความจำเป็นของการใช้กำลังคนเป็นไปอย่างมาก นอกจากนี้การทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยสนับสนุนรองส่งผลให้ความต้องการกำลังคนแตกต่างไปจากเดิม ในเชิงปริมาณและคุณภาพ
                        2) การสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วช่วยลดอุปสรรคด้านระยะทาง ทำให้เริ่มกล่าวขานถึงการทำงานที่ไหนก็ได้ไม่มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานเป็นเครื่องกีดกั้นอีกต่อไป (anywhere, anytime, workspace) ความสะดวกดังกล่าวทำให้เกิดการจ้างงานนอกประเทศเพิ่มขึ้น
                       3) โลกาภิวัตน์ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกันและเกิดการกำหนดมาตรฐานสินค้าและบริการสากลซึ่งมีผลดีในแง่ของการยกระดับคุณภาพแต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตและผู้ให้บริการในแต่ละประเทศรุนแรงขึ้น
                        4) การเปิดตลาดเสรีนำไปสู่การเคลื่อนย้ายทุนแรงงานและเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างสังคมมากขึ้นก็นำไปสู่สภาวะความขัดแย้งทางวัฒนธรรมตลาดงานการจัดบริการของรัฐการมีส่วนร่วมของประชากรในระบบพหุวัฒนธรรมรวมทั้งการเหนือเรียกร้องสิทธิต่างๆทั้งโดยประชากรเจ้าของประเทศและประชากรที่เข้ามาพักอาศัย
                        5) การหลั่งไหลของสินค้าบริการวิธีการดำรงชีวิตรูปแบบการทำงาน ส่งผลให้เกิดการยอมรับและยึดถือปฏิบัติที่เป็นสากลมากขึ้นให้เกิดความพยายามปรับตัวของประชากรและการกดดันให้หน่วยงานภาครัฐต้องปฏิรูปการดำเนินการต่างๆให้สอดรับกับระบบสากลหรืออย่างน้อยตามแนวทางของภาคธุรกิจการปรับตัวดังกล่าวย่อมส่งผลต่อความขัดแย้งความไม่พอใจการฝ่าฝืนซึ่งกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ
                       6) การเข้ามามีส่วนร่วมหรือการแทรกแซงโดยองค์การเหนือชาติ ประเทศอื่น หน่วยงานภายนอกองค์กรธุรกิจองค์การเอกชนองค์การภาคประชาชนและขบวนการอื่นอื่นในประเทศมีผลเป็นการผลิตรอนอำนาจของรัฐและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความสัมพันธ์ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศอย่างสำคัญถึงแม้จะยังไม่แสดงผลที่ชัดเจนแต่ก็ทำให้การดำเนินงานของรัฐบาลเป็นไปด้วยความลำบากกว่าที่เคยเป็น

......................................................................................
คำถามท้ายบทเรียน
1.ผู้คนมักตั้งคำถามในการดำรงชีวิตของคนในยุคใหม่ศตวรรษที่ 21 ว่าอย่างไร
2. เห็นด้วยกับข้อสมมติฐานว่าวัฒนธรรมของบางประเทศจะเข้าแทนที่วัฒนธรรมอืนและกลายเป็นวัฒนธรรมโลกหรือไม่ จงอธิบาย


..............................................................................

แหล่งที่มา :  SO ๒๑๓๘      พลเมืองโลกในกระแสโลกาภิวัตน์
โดย : พลเรือตรีรองศาสตราจารย์ทองใบ ธีรานันทางกูร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น