กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงโลก
ลักษณะของสังคมโลกปัจจุบัน และกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกสู่กรอบแกนกลาง
ในสัปดาห์นี้จะได้นำเสนอ
”กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก” โดยครอบคลุมสาระ 2 เรื่อง คือ
ลักษณะของสังคมโลกปัจจุบัน และกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกเข้าสู่กรอบเกณฑ์กลาง
ดังจะได้นำมาอธิบายตามลำดับดังนี้
1.ลักษณะของสังคมโลกปัจจุบัน
ในหนังสือชื่อ Megatrends: Ten New Directions Transforming Our Lives(ค.ศ. 1984) จอห์น แนสบิท (John Naisbitt)
กล่าวถึงสังคมยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21มีลักษณะดังนี้
1) เป็นสังคมข่าวสาร
ในโลกปัจจุบันข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านสื่อต่างๆ
จำนวนมากมายมหาศาล และกระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก
ทำให้ประชากรโลกได้รับรู้ข้อมูลจากสังคมอื่นๆอย่างสะดวก จึงเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
เกิดสิ่งที่เรียกว่าทางหลวงข่าวสาร (Information Highway) โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานของการจัดการเครือข่ายสื่อสาร (Global
information infrastructure) ระดับโลก เครือข่ายดังกล่าวนี้หาได้ถูกกีดกั้นโดยอำนาจอธิปไตยของรัฐหรือขอบเขตพรมแดนแต่อย่างใด
2) มีการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เทคโนโลยีระดับสูงเป็นผลต่อเนื่องจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงหลังสังคมอุตสาหกรรม
จนทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีหุ่นยนต์และกลศาสตร์
เทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีอวกาศ ฯลฯ
ความรู้เหล่านี้ได้รับประยุกต์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกด้าน
3) เปลี่ยนแปลงวิธีคิดระยะสั้นเป็นการวางแผนระยะยาว ในสังคมยุคใหม่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน ประเทศ
และองค์การระหว่างประเทศ
ไม่สามารถอยู่รอดได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการทำงานแบบเดิมๆ หน่วยงานยุคใหม่ต้องมีการกำหนดเป้าหมายชัดเจน
กำหนดวิสัยทัศน์ ขอบเขต พันธกิจ และยุทธศาสตร์ทั้งระยะยาวและระยะสั้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานของตน
รวมทั้งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ทุกขณะ
4) เกิดการกระจายอำนาจ ในสังคมโลกยุคใหม่ อำนาจแท้จริงมิได้อยู่ที่การใช้กำลัง
หรืออำนาจทางเศรษฐกิจตามลำพังอีกต่อไป แต่อำนาจแท้จริงอยู่ที่ความรู้
ดังที่กล่าวว่าสังคมปัจจุบันเป็นสังคมฐานความรู้ หรือระบบเศรษฐกิจฐานความรู้
และการที่ความรู้ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้การรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางเพื่อประโยชน์ของการควบคุมเป็นไปได้ยาก
การกระจายอำนาจจึงเป็นสภาวการณ์ที่เลี่ยงไม่พ้น
5)
เน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น ในขณะที่โลกยุคก่อน
ประเทศมหาอำนาจ รัฐบาลกลาง หรือองค์การระหว่างประเทศ
ทำหน้าที่พี่ใหญ่หรือผู้สั่งการ ในโลกยุคใหม่ชุมชนหรือหน่วยการเองย่อมต้องรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น
ผลคือเกิดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและแต่ละประเทศ
ในการดูแลตัวเองเป็นเบื้องต้น แทนที่จะคอยพึ่งพาการดูแลจากศูนย์อำนาจกลาง
6)
เน้นระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ประชาธิปไตยยุคใหม่เริ่มเคลื่อนไปสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น
แทนที่จะมอบอำนาจหน้าที่ให้ตัวแทนเพียงอย่างเดียว
ประชาชนได้เข้ามามีบทบาทในกิจการสาธารณะทั้งอย่างเป็นทางการและเป็นทางการ
ทั้งนี้เพราะการสื่อสารที่สะดวกได้ช่วยเปิดหูเปิดตาให้ประชาชนรับรู้เรื่องราวรอบตัวมากขึ้น
จึงเรียกร้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นการร่วมดำเนินการ
หรือการตัดสินใจสาธารณะมากกว่าที่เคยเป็น
ในหลายประเทศการมีส่วนร่วมดังกล่าวมีลักษณะของการใช้มวลชนกดดันหรือเรียกร้องให้รัฐดำเนินการตามที่กลุ่มต้องการ
จนเกิดการกระทบกระทั่งและความรุนแรง ซึ่งสะท้อนสภาวะการเสื่อมถอยของอำนาจรัฐ
บ่อยครั้งการดำเนินการของกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากภายนอก
หรือส่งผลให้เกิดการแทรกแซงจากภายนอกด้วย
7)
เกิดการจัดการที่เน้นเครือข่าย การทำงานในสังคมใหม่เน้นการแยกแยะหน้าที่เฉพาะส่วนและประสานกระบวนงานในลักษณะเครือข่าย
ระบบงานแบบนี้เข้าแทนที่ระบบการทำงานครบวงจรของหน่วยงานแบบเดิม
แต่ส่งเสริมให้แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการตามที่ตนเองถนัดที่สุด
และมีการบูรณาการงานในภาพรวม เช่น
กระบวนการประกอบรถยนต์อาศัยหลายหน่วยงานจากหลายประเทศเป็นผู้ดำเนินการ
บางหน่วยงานผลิตชิ้นส่วน บางหน่วยงานประกอบ และหน่วยงานอื่นรับผิดชอบการขาย
การซ่อมบำรุง เป็นต้น โดยแต่ละหน่วยเหล่านี้เป็นหน่วยงานเอกเทศ
แต่ทำงานร่วมกันกับหน่วยงานอื่น
8)
ประเทศกลุ่มใต้ได้รับความสำคัญมากขึ้น
ในโลกยุคใหม่ประเทศที่ไม่เคยได้รับความสนใจซึ่งมักถูกเรียกรวมๆว่าประเทศทางใต้
เช่น แอฟริกาและละติอเมริกา กลับกลายมาเป็นประเทศที่มีความสำคัญมากขึ้น
เพราะหากประเทศเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนไม่ว่าด้วยภัยธรรมชาติหรือภัยที่เกิดจากมนุษย์
ประเทศอื่นก็ต้องได้รับความเดือดร้อนตามไปด้วย
จึงทำให้ประเทศเหล่านี้ได้รับการเหลียวแลมากกว่าเดิม
9) เปิดช่องทางเลือกมากกว่าเดิม
สังคมยุคใหม่เปิดทางเลือกต่างๆให้มากมาย อย่างน้อยพื้นที่ในการตัดสินใจ
ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในแต่ละประเทศอีกต่อไป
แต่สามารถขยายไปยังพื้นที่อื่นๆบนผืนโลกได้
นอกจากนี้เทคโนโลยีได้ให้ทางเลือกในการดำเนินการมากกว่าที่เป็นอยู่มากมาย
ต่อมาแนชบิและแพทริเซีย
แอเบอร์ดีน (ในหนังสือชื่อ Megatrends 2000 พิมพ์เผยแพร่ใน
ค.ศ.1984) ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะอื่นๆอีกบางเรื่อง เช่น
การกระเตื้องของเศรษฐกิจโลก การที่ผู้คนหวนไปสนใจงานศิลป์และฟื้นฟูศาสนา
ระบอบสังคมยอมรับระบบตลาดเสรี เกิดวัฒนธรรมสากล สตรีมีบทบาทเพิ่มขึ้น ชีววิทยาได้รับความสนใจ
เป็นต้น ซึ่งก็เกิดจากการสรุปจากการสังเกตของนักวิชาการ
แต่ไม่สามารถนำไปอธิบายสำหรับแต่ละสังคมย่อยเสมอไปได้
ผู้สนใจอาจหาอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือดังกล่าว
2.กระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกเข้าสู่กรอบเกณฑ์กลาง
เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่มนุษย์มีความสนใจเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
เมื่อใดก็ตามที่เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
สังคมที่แตกต่างกันย่อมสนใจที่จะเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างกัน
ในขณะเดียวกันสังคมที่คิดว่าตนเองเหนือกว่าสังคมอื่น ก็พยายามถ่ายทอดค่านิยม
แบบแผนวิธีปฏิบัติ หรือองค์ความรู้อื่นให้กับคนในสังคมที่ด้อยกว่า
ตลอดช่วงความเป็นมาของสังคมโลก
กลุ่มสังคมที่มีโอกาสรับรู้เรื่องราวของสังคมอื่น มีแนวโน้มที่จะเลียนแบบ
หรือประยุกต์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมอื่นมาใช้ในสังคมของตน
นอกจากนี้กระบวนการเรียนรู้อาจเกิดจากการผลักดันส่งเสริมของสังคมอื่นที่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมและค่านิยมของตนด้วย
คามความหมายกว้างกระบวนการเรียนรู้
รับมาปฏิบัติและถ่ายทอดค่านิยมหรือวิธีคิดวิธีปฏิบัติในสังคมโลกปัจจุบัน
อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากระบวนการโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดภายหลัง
จากที่กล่าวข้างต้นย่อเห็นได้ว่าการรับรู้
ประยุกต์และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม รูปแบบ และกระบวนการทางการเอง เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกให้เป็นไปในทางเดียวกันนั้น
เกิดขึ้นมาช้านานแล้ว
โดยเริ่มต้นจากสังคมที่อยู่ใกล้ชิดติดกันและขยายต่อไปยังสังคมที่ห่างไกลออกไป
. ในสมัยที่การคมนาคมติดต่อในสังคมโลกยังเป็นไปอย่างจำกัด
ชุมชนต่างๆย่อมดำรงชีวิตอยู่ตามลำพัง แยกห่าง และกระจัดกระจาย
ในลักษณะต่างคนต่างอยู่ การคบหาสมาคนติดต่อส่วนใหญ่เกิดในภูมิภาคใกล้เคียงเท่านั้น
แต่เมื่อคนจากบงประเทศหรือบางสังคมสามารถดินทางไกลออกไปจากดินแดนของตน
จนมีโอกาสสัมพันธ์กับคนในชุมชนอื่น
การเชื่อมโยงประสานระหว่างวัฒนธรรมและชุมชนต่างๆในพื้นที่ซึ่งเคยอยู่กระจัดกระจายก็เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น
ส่งผลให้วัฒนธรรมที่เจริญกว่าพยายามยัดเยียดค่านิยมของตนให้วัฒนธรรมที่ด้อยกว่า
ตัวอย่างเช่น ความพยายามเผยแผ่ศาสนาคริสต์จากประเทศยุโรปไปยังชุชนต่างๆพร้อมกับความพยายามแสวงหาอาณานิคมของประเทศหาอำนาจ
อย่างเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส
โรเบิร์ตสัน
(Globalization
หน้า 58-59) แบ่งพัฒนาการของโลกอันนำไปสู่สภาวะโลกาภิวัตน์ออกเป็น 5ขั้นตอนอย่างหยาบๆโดยมองจากแง่มุมของกลุ่มประเทศในยุโรปเป็นหลัก
ดังนี้
ขั้นตอนแรกเป็นขั้นก่อตัว
(the
germinal phase) เริ่มในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 15
ไปจนถึงกลางศตวรรษที่ 18โดยเริ่มมีการจัดตั้งรัฐชาติ ลดบทบาทของแว่นแคว้นศักดินา
มีการขยายตัวของศาสนจักร ให้ความสำคัญแก่ความเป็นปัจเจกบุคคล
และรับความคิดเรื่องมนุษยนิยม เริ่มยอมรับสภาวะของความเป็นโลกเดียวกัน
มีการจัดทำแผนที่โลก ใช้ปฏิทินเกรกอเรียนแบบเดียวกัน เป็นต้น
ขั้นตอนที่สองเป็นขั้นตอนบ่มฟัก (the
incipient phase) เริ่มจากกลางศตวรรษที่ 18 ไปจนถึงทศวรรษที่ 1870 เกิดการจัดตั้งรัฐชาติที่มีเอกภาพ
มีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการที่ชัดเจน
เกิดองค์การและหน่วยงานจำนวนมาก มีการกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ
การสื่อสารระหว่างประเทศขยายตัว
และเริ่มนำประเทศที่ไม่ใช่ยุโรปเข้าร่วมในสังคมระหว่างประเทศ
ขั้นตอนที่สามเป็นขั้นก้าวเดิน (the
takeoff phase)
เริ่มจากกลางทศวรรษที่ 1920 ช่วงนี้มีการขยายแนวคิดความเป็นสากลมากขึ้น
มีการกำหนดความหมายของสังคมระดับชาติหรือรัฐชาติที่ชัดเจน
ให้ความสำคัญกับความเป็นตัวตนของบุคคลและรัฐชาติ
ดึงประเทศนอกยุโรปเข้าไปร่วมในประชาคมโลก
มีการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ชัดเจน พยายามสร้างแนวคิดเรื่องมนุษยชาติ
การสื่อสารระหว่างประเทศขยายตัวกว้างขางขึ้นและรวดเร็วขึ้น
มีการจัดกิจกรรมระหว่างประเทศ เช่น กีฬาโอลิมปิก รางวัลโนเบล กำหนดเส้นแบ่งเวลาโลก
เกิดสงครามครั้งที่หนึ่งและสันนิบาตชาติ
ขั้นตอนที่สี่เป็นช่วงดิ้นรนเพื่อครองอำนาจในโลก
(the struggle-for-hegemony phase) เริ่มจากต้นทศวรรษที่ 1920
ไปจนถึงทศวรรษที่ 1960 ช่วงนี้เป็นช่วงของความขัดแย้ง
เนื่องจากมหาอำนาจบางประเทศต้องการเข้าครองอำนาจโลก
ถึงแม้มีการกำหนดหลักการว่าด้วยความเป็นเอกราชของชาติแล้วก็ตาม
ตึความขัดแงระหว่างกลุ่มพันธมิตรกับกลุ่มอักษะได้นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง
เกิดองค์การสหประชาชาติ เมื่อสิ้นสงครามมีประเทศเอกราชเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก
ประเทศเหล่านี้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มโลกที่สาม
ขั้นตอนที่ห้าเป็นช่วงที่ขาดความแน่นอน
(the
uncertainty phase) เริ่มจากทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา
โลกต้องประสบปัญหาความขัดแย้งบ่อยขึ้น
ช่วงนี้มีประเทศโลกที่สามเข้ามาร่วมในประชาคมโลกตอนปลายทศวรรษที่ 1960 มากขึ้น
ประเทศเหล่านี้ถูกดึงเข้ามาอยู่ในกระแสความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจเป็นเวลาหลายปีกว่าที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดลง
ปรากฏการณ์ที่วางพื้นฐานสู่สภาวะสากล ได้แก่ การจัดตั้งและขยายตัวขององค์การและขบวนการโลกมากาย
แต่ละสังคมเผชิญปัญหาการมีวัฒนธรรมและชนชาติหลากหลาย
เกิดแนวคิดที่ให้ความสนใจเรื่องสิทธิพลเองและมนุษยนิยม สังคมประชา การเป็นพลเมืองโลก
ความขัดแย้งระหว่างค่ายอำนาจสองขั้วสิ้นสุดลง
ระบบสื่อสารมวลชนระดับโลกได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและครอบคลุม
สรุปความได้ว่า
ในส่วนที่เป็นลักษณะของสังคมโลกปัจจุบัน ลักษณะเป็นสังคมข่าวสาร การใช้เทคโนโลยีระดับสูง, เปลี่ยนวิธีคิดจากระยะสั้นเป็นการวางแผนระยะยาว, เกิดการกระจายอำนาจ, เน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น, เน้นระบอบประชาธิปไตยแบบีส่วนร่วม,
เกิดการจัดการที่เน้นเครือข่าย,
ประเทศกลุ่มใต้ได้รับความสำคัญมากขึ้นและ เปิดช่องทางเลือกมากกว่าเดิม สำหรับ
กระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกไปสู่กรอบเกณฑ์กลางนั้น แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อตัว, ขั้นตอนบ่มฟัก, ขั้นตอนก้าวเดิน, ขั้นตอนดิ้นรนเพื่อครองอำนาจโลก และ ชั้นตอนที่ขาดความแน่นอน
.........................................................................
คำถามท้ายบทเรียน
1.จงบอกถึงลักษณะสังคมโลกปัจจุบันว่ามีอะไรบ้าง
2.จงบอกถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกเข้าสู่รอบเกณฑ์กลางตามทัศนะของโรเบิร์ตสัน
...................................................................................
แหล่งที่มา
: SO ๒๑๓๘ พลเมืองโลกในกระแสโลกาภิวัตน์
โดย
: พลเรือตรีรองศาสตราจารย์ทองใบ ธีรานันทางกูร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น